ข่าวประชาสัมพันธ์

Close

ข่าวประชาสัมพันธ์

นี่แหละคือ "ฟาร์มยั่งยืน"

นี่แหละคือ "ฟาร์มยั่งยืน"

กลุ่มประมงพื้นบ้านปากน้ำปราณ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์

 เพราะสัตว์ทะเลลด จึงต้องร่วมมือกัน รักษาวิถี การทำประมงพื้นบ้านให้อยู่คู่ชาวประมงไทย เพื่อเป็นการฟื้นฟู และอนุรักษ์ทรัยพากรทางทะเลชายฝั่ง อย่างยั่งยืน

อาชีพทำประมงพื้นบ้าน อยู่คู่คนไทยมาช้านานตั้งแต่อดีต เป็นอาชีพที่สร้างรายได้และเศรษฐกิจที่ดีให้กับชุมชน แต่ด้วยวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำการประมงไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการรักษาสิ่งแวดล้อมตั้งแต่แรก รวมถึงการทำการประมง ในรูปแบบพาณิชย์ ทำให้ระบบนิเวศทางทะเลถูกทำลายมาเรื่อย ๆ ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ สัตว์ทะเลที่เคยมีอยู่ชุกชุมลดลง สร้างผลกระทบต่ออาชีพ รายได้ และความยั่งยืนของคนในชุมชน

DO SOMETHING…

มูลนิธิสุทธิรัตน์ อยู่วิทยา ร่วมมือกับกลุ่มเกษตรกรทำประมง ในพื้นที่ปากน้ำปราณ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ (เริ่มปี 2563) ในการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์ประมงพื้นบ้าน ดูแลกิจกรรมร่วมกับภาครัฐและเอกชน ตั้งแต่ “ต้นน้ำ” ร่วมสร้างแนวเขตอนุรักษ์ประมงพื้นบ้านระยะทาง 3,000 เมตร จากชายฝั่ง ทำข้อตกลงร่วมกับชาวประมงในการใช้เครื่องมือทำประมงแบบถูกกฎหมาย เชื่อมโยงกับคนในสังคม ผ่านโครงการ อาสาสมัคร Goal Together ในการ ทำบ้านปลาจากวัสดุธรรมชาติ หรือเรียกว่า “ซั้งปลา” ซึ่งทำมาจากส่วนประกอบหลักคือทางมะพร้าว ไม้ไผ่ และเชือกที่ไม่มีส่วนผสมของไมโครพลาสติก เพื่อเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำขนาดเล็ก ซึ่งจะทำให้เกิดความหลากหลายของนิเวศทางทะเล และจำนวนปริมาณสัตว์น้ำที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ชาวประมงสามารถจับสัตว์น้ำได้หลากหลาย และไม่ต้องออกเรือไป ในระยะไกล พร้อม กันนี้ยัง จัด ทำ ตั้ง โครงการ ธนาคารปูม้า เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ ให้ชาวประมงร่วมกันอนุรักษ์ปูม้า โดยสร้างค่านิยมไม่จับปูไข่นอกกระดองไปขาย แต่ให้นำแม่ปูม้ามาบริจาคและฝากไว้ในบ่อธนาคารปูม้า เพื่อเพิ่มโอกาสให้แม่ปูได้ฟักไข่ และขยายพันธุ์ปูต่อไป รวมทั้งทำสัญญาใจ ให้ชาวประมงงดจับสัตว์น้ำในช่วงฤดูวางไข่เดือนตุลาคมถึงธันวาคมของทุกปีอีกด้วย

…TO MAKE SOMETHING BETTER

ยกระดับชาวประมงสู่การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจชุมชน

มูลนิธิฯ จัดทำโครงการ U Volunteer โดยร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยศิลปากร (วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี) สร้างการเรียนรู้ ยกระดับศักยภาพชุมชน ดังนี้

1. พัฒนาธนาคารปูม้าให้เป็นต้นแบบแหล่งเรียนรู้ ให้ผู้ที่สนใจมาศึกษาดูงาน และนักท่องเที่ยวได้เรียนรู้วิถีแนวคิดและวิธีการอนุรักษ์ปูม้าอย่างยั่งยืน เพื่อให้เกิดเป็นค่านิยมไม่กินปูไข่นอกกระดอง และไม่จับปูไข่นอกกระดองมาจำหน่ายให้ผู้บริโภคในที่สุด

2. พัฒนาชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว จัดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ พร้อมกับจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปจากประมงพื้นบ้าน ฝีมือวิสาหกิจชุมชน

3. สร้างผลิตภัณฑ์ชุมชน สนับสนุนการสร้างอาคารแปรรูปผลิตภัณฑ์ประมงพื้นบ้านปากน้ำปราณที่ได้มาตรฐานถูกสุขอนามัย โดยเป็นการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน เพื่อจำหน่ายให้กับผู้ที่มาศึกษาดูงานและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยการแปรรูปมีความปลอดภัย ภายใต้การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ SALANA PGS

เมื่อ เศรษฐกิจของชาวประมงดีขึ้น คุณภาพ ชีวิตของชาวประมงดีขึ้น การอนุรักษ์วิถีประมงพื้นบ้านก็แข็งแรงและยั่งยืน