ข่าวประชาสัมพันธ์

Close

ข่าวประชาสัมพันธ์

มอบเงินบริจาคสมทบทุนมูลนิธิโรงพยาบาลสวนดอก

มอบเงินบริจาคสมทบทุนมูลนิธิโรงพยาบาลสวนดอก

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

      เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2565 ณ ศาลาใต้ร่มพระบารมี ชั้น 1 อาคารสุจิณโณ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศ.(เชี่ยวชาญพิเศษ)นพ.บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รับมอบเงินบริจาคจำนวน 1,000,000 บาท จากผู้แทนมูลนิธิสุทธิรัตน์ อยู่วิทยา เพื่อสมทบทุนมูลนิธิโรงพยาบาลสวนดอก ในโครงการปรับปรุงอาคารผู้ป่วยสุจิณฺโณ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ปัจจุบันโครงสร้างภายในอาคารผู้ป่วยหลวงปู่แหวน “สุจิณฺโณ” มีสภาพทรุดโทรมตามกาลเวลาเนื่องจากเป็นหอผู้ป่วยในที่ถูกใช้งานตลอดเวลา รวมถึงครุภัณฑ์ทางการแพทย์มีจำนวนจำกัด และมีอายุการใช้งานมานาน หอผู้ป่วยที่อยู่ในอาคารถูกใช้อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งมีสภาพเก่าทรุดโทรม จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการปรับปรุงทั้งโครงสร้างภายใน ซึ่งประกอบด้วยห้องพักผู้ป่วยสามัญที่มีสภาพแออัดจำนวน 106 ห้อง ห้องพักผู้ป่วยพิเศษจำนวน 78 ห้อง ปรับปรุงระบบสาธารณูปโภค และปรับปรุงลิฟต์เพื่อให้มีสภาพแวดล้อมการดูแลผู้ป่วยที่ดีและสามารถใช้งานอาคารต่อได้อีกยาวนาน เนื่องจากอาคารผู้ป่วยหลวงปู่แหวน “สุจิณฺโณ” เป็นหอผู้ป่วยใน ซึ่งเป็นอาคารหลักในการรับผู้ป่วยในของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ทำให้มีผู้ป่วยเข้า และออกตลอดเวลาที่มีเตียงว่าง ซึ่งมีอัตราการครองเตียงสูงมากโดยเฉพาะหอผู้ป่วยอายุรศาสตร์ ทำให้การปรับปรุงเป็นสิ่งที่ทำได้ยากในเวลาเดียวกัน รวมถึงมาตรฐานของหอผู้ป่วยทางการแพทย์ในอดีตเมื่อ 40 ปีที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากสภาพอาคารที่ทรุดโทรมของหอผู้ป่วยในอาคารผู้ป่วยสุจิณฺโณ จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินโครงการนี้ เพื่อให้หอผู้ป่วยในอาคารผู้ป่วยสุจิณฺโณใช้ดูแลรักษาผู้ป่วยต่อไปในระยะเวลาอีกยาวนานในอนาคต ตามมาตรฐานการแพทย์สากลในปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อผลการรักษาและความปลอดภัยของผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้น

ปัจจุบันห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่เป็นศูนย์อุบัติเหตุระดับ 1 ในปัจจุบันประเทศไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุจึงมีความเสี่ยงต่อภาวะโรคฉุกเฉินจากโรคหลอดเลือดต่างๆ มากขึ้น เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจและสมองตีบเฉียบพลัน ซึ่งมีโอกาสเสียชีวิตสูงหรือพิการถาวรหากไม่ได้รับการรักษาได้ทันท่วงทีจึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงห้องฉุกเฉิน ให้เป็นห้องฉุกเฉินครบวงจรที่มีห้องตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจหลอดเลือดสมอง รักษาหลอดเลือดอุดตันรวมถึงการมีห้องผ่าตัดในห้องฉุกเฉินที่สามารถรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินได้ โดยไม่ต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปยังบริเวณอื่น ห้องแยกสำหรับโรคติดเชื้อ ห้องตรวจตา หูคอ จมูก แบบห้องฉุกเฉินบริการเบ็ดเสร็จ ( One-Stop-Service ER)