โครงการ

Close

Community And Environment

Seagrass Conservation and Restoration Project

Seagrass Conservation and Restoration Project

Ban Phru Jut, Bo Hin Subdistrict, Sikao District, Trang Province


With the Hope of Protecting and Responsibly Using the World’s Seas, Oceans, and Marine Resources

     Seas and oceans comprise 70% of the world’s oceans and are essential resources for human survival. They also serve as a significant source of oxygen, naturally occurring energy, food, and tourist attractions. Providing permission for the inhabitants of coastal countries to utilize the water amidst the ocean's vast benefits will inevitably bring challenges and obstacles. According to the United Nations Environment Program (UNEP), more than three billion people depend on the ocean and its diverse ecosystems for survival.

     The fish cage farming community enterprise of Ban Phru Jut, Bo Hin Subdistrict, Sikao District, Trang Province, and the Suthirat Yoovidhya Foundation will collaborate on a project to conserve and restore seagrass (beginning in 2019). By doing so, the enterprise aims to restore the diversity of the marine animals’ habitat and facilitate the restoration of Thailand’s marine ecosystem to its former abundance, which has far-reaching implications for various resources.

Project Goals

     “Promoting efforts to preserve and enlarge the seagrass habitat spanning 50 rai in the Klong Son Beach region of Phi Island” through the implementation of participatory initiatives involving network partners, the community, educational establishments, government, and private sectors across the operational area, and conducting research on seagrass restoration and conservation.


Importance of the Project

      The utilization of natural resources by humans has generated both environmental advantages and disadvantages. Insufficient replacement and maintenance of utilized resources will inevitably have an adverse impact on the resource ecology and the community’s ability to utilize them.

     Increasing seagrass areas is thus an interesting way to create diversity and restore the health of the marine ecosystem. It is also an important tool for developing participatory learning activities with the next generation to increase understanding and awareness of the importance of preserving and restoring seagrass, which will have an impact on the environment and people’s long-term use in the community. 

Seagrass Conservation and Restoration Project

Ban Phru Jut, Bo Hin Subdistrict, Sikao District, Trang Province


ปลูกบ้านให้สัตว์ทะเลกลับมา

โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูหญ้าทะเล
โครงการ Goal Together
และโครงการ U Volunteer

     หญ้าทะเลเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศในท้องทะเลที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงระบบนิเวศชายฝั่งอื่นๆ เช่น ป่าชายเลน และแนวปะการังเข้าไว้ด้วยกัน และมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะเป็นทั้งแหล่งหลบภัยวางไข่ฟักตัว และอนุบาลสัตว์น้ำน้อยใหญ่นานาเป็นที่ยึดเกาะของพืชบางชนิด ตลอดจนเป็นแหล่งอาหารของสัตว์ทะเลหายากใกล้ สูญพันธุ์อย่าง พะยูน เต่าทะเล และโลมา รากและเหง้าของหญ้าทะเลยังช่วยลดความรุนแรงของกระแสน้ำและคลื่น ชะลอการพังทลายของชายฝั่ง

     อย่างไรก็ดีสถานการณ์ของหญ้าทะเลไทยมีแนวโน้มเสื่อมโทรมจนอยู่ในสภาวะที่น่าเป็นห่วง เนื่องจากเป็นระบบนิเวศแรกที่ได้รับผลกระทบจากกิจกรรมที่เกิดจากมนุษย์บนพื้นที่ริมชายฝั่งทะเล ไม่ว่าจะเป็นการทิ้งน้ำเสียจากชุมชนการสร้างท่าเรือขนาดใหญ่ การสร้างเขื่อนกันคลื่นไปจนถึงการเลือกใช้เครื่องมือประมงอย่างอวนลากหรืออวนรุนที่ทำร้ายทรัพยากรธรรมชาติในท้องทะเลอย่างรุนแรง

     จังหวัดตรัง ถือเป็นพื้นที่ที่มีแหล่งหญ้าทะเลที่อุดมสมบูรณ์มากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก วิสาหกิจชุมชนเลี้ยงปลากระชัง บ้านพรุจูด ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง จึงไม่นิ่งนอนใจถึงแนวโน้มที่น่าเป็นห่วงนี้ รวมตัวกันขับเคลื่อนงานอนุรักษ์และขยายพื้นที่หญ้าทะเล หาวิธีฟื้นฟูหญ้าทะเลโดยการเพาะขยายพันธุ์ต้นกล้าแล้วนำมาปลูกคืนให้ชายฝั่ง จนแหล่งหญ้าทะเลที่บ้านพรุจูดกลับมาสมบูรณ์อีกครั้ง

     มูลนิธิสุทธิรัตน์ อยู่วิทยา คือองค์กรที่ให้ความสำคัญเรื่องความยั่งยืนของชุมชนและสิ่งแวดล้อม จึงสนับสนุนเงินทุนให้วิสาหกิจชุมชนเลี้ยงปลากระชังบ้านพรุจูด ในการทำโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูหญ้าทะเล เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน เยาวชน หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และนักท่องเที่ยว ในการฟื้นฟูและเพิ่มพื้นที่หญ้าทะเล 50 ไร่ ในพื้นที่หาดคลองสน (เกาะผี) บ้านพรุจูด พร้อมสร้างความร่วมมือในด้านวิชาการกับมหาวิทยาลัยราชมงคลศรีวิชัย (วิทยาเขตตรัง) ผ่านโครงการ U Volunteer ในการวิจัยหญ้าทะเลที่เหมาะสมกับพื้นที่ และผลการเปลี่ยนแปลงของนิเวศทางทะเล เพื่อคืนความอุดมสมบูรณ์ในท้องทะเลและก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพที่จะส่งผลต่อวิถีชีวิตประมงชายฝั่งของคนในชุมชน อีกทั้งยังเป็นกิจกรรมที่ทำให้คนทั่วไปได้เรียนรู้และตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น

หญ้าทะเลในน่านน้ำไทย

     พบหญ้าทะเล 13 ชนิด ได้แก่ หญ้าคาทะเล (Enhalus acorides) หญ้าต้นหอมทะเล (Syringodium isoetifolium) หญ้ากุยช่ายทะเล (Syringodiumisoetifolium) หญ้ากุยช่ายเข็ม (Halodule pinifolia) หญ้าตะกานน้ำเค็ม (Ruppia maritima) หญ้าชะเงาใบมน (Cymodocea rotundata) หญ้าชะเงาใบฟันเลื่อย (Cymodocea serrulata) หญ้าชะเงาเต่า (Thalassia hemprichii) หญ้าเงา (Halophila ovalis) หญ้าเงาใบเล็ก (Halophila minor) หญ้าเงาใบใหญ่่ (Halophila major) หญ้าเงาใส (Halophila decipiens) หญ้าเงาแคระ (Halophila beccarii) จากจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 60 ชนิด พันธุ์ที่พบทั่วโลก โดยในฝั่งทะเลอันดามันพบหญ้าทะเล 12 ชนิด ขาดเพียงหญ้าตะกานน้ำเค็ม (Ruppiamaritima) ซึ่งพบเฉพาะฝั่งทะเลอ่าวไทย ส่วนฝั่งอ่าวไทยก็พบหญ้าทั้งสิ้น 12 ชนิดเช่นกัน ขาดเพียงหญ้าเงาใบใหญ่่ (Halophila major) ซึ่งพบเฉพาะฝั่งทะเลอันดามัน

ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


ฮาวทูฟื้นฟู ‘โคลนตม’

ให้กลับคืนเป็นดง ‘หญ้าทะเล’

1. เพาะต้นกล้าเองจากเมล็ดหญ้าทะเล

     ใช้วิธีเพาะเมล็ดในถังน้ำทรงสี่เหลี่ยมที่ต้องให้ออกซิเจนและควบคุมอุณหภูมิความเค็ม ปริมาณแสงให้เหมือนในทะเลมากที่สุด ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 3 เดือน ถึงจะสามารถนำต้นกล้าไปปลูกได้ พ.ศ. 2553 บรรจงและทีมลองเอาต้นกล้าไปปลูกที่อ่าวบุญคงแหล่งหญ้าทะเลที่เสื่อมโทรมและสูญหายไป เมื่อผลลัพธ์มีอัตรารอดที่ค่อนข้างดีจึงปลูกและฟื้นฟู ต่อมาเรื่อย ๆ ใน พ.ศ. 2554-2558 จนสามารถฟื้นฟูหญ้าทะเลกลับคืนมาได้ร้อยละ 70 เริ่มมีร่องรอยของพะยูนมากินหญ้าทะเลและมีลูกปลามาอาศัยมากขึ้น

2. ลุยต่อที่หาดคลองสน แล้วต่อยอดสู่ ‘กิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ’

     ใน พ.ศ. 2559 บรรจงและทีมยกองค์ความรู้ไปใช้ฟื้นฟูต่อที่หาดคลองสน (หน้าเกาะผี) ซึ่งมีความท้าทายเพราะเป็นทะเลเปิดพื้นที่กว้างตะกอนดินฟื้นฟูได้ช้ากว่า โดยในครั้งนั้นได้นำต้นกล้าไปลองเพาะปลูก 2,000 ต้น จากนั้นก็มีอาสาสมัครไปช่วยลงแรงอีก 6,000 ต้น จนสุดท้ายแหล่งหญ้าทะเลกลับมาได้จนขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 10-20 ไร่ รวมทั้งเริ่มมีเครือข่ายในจังหวัดอื่นที่สนใจโมเดลนี้ เดินทางมาศึกษาวิธีเพาะและมาขอต้นกล้าไปโดยตรง บรรจงและทีมใส่การอนุรักษ์ไปในการท่องเที่ยวเชิงชุมชน เมื่อนักท่องเที่ยวกลุ่มหนึ่งมาก็เก็บต้นหญ้ามาให้ชุมชนเพาะอีกกลุ่มหนึ่งมาก็เอาต้นกล้าไปปลูกเกิดเป็นโมเดลการท่องเที่ยวแบบจิตอาสา และเริ่มมี หน่วยงานสนใจและสนับสนุนกิจกรรมนี้ในจังหวัดตรังมากขึ้นเรื่อย ๆ

3. หญ้าทะเลและชุมชน กลับมามีชีวิตได้ก็เพราะ ‘ความร่วมมือ’

     มูลนิธิสุทธิรัตน์ฯ คือหนึ่งในหน่วยงานที่สนใจเรื่องความยั่งยืนของชุมชน เมื่อเห็นว่าบรรจงและทีมทำงานอนุรักษ์มากว่า 10 ปี จึงเข้ามาร่วมสนับสนุนด้วยการนำอาสาสมัครจากหลายพื้นที่ทั่วประเทศ มาเรียนรู้ลงแรงฟื้นฟูหญ้าทะเลร่วมกับชุมชนและเยาวชนผ่านกิจกรรมโครงการ Goal Together และยังช่วยสนับสนุนเงินทุนให้ชุมชนทำกิจกรรมที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อนงานอนุรักษ์และฟื้นฟูหญ้าทะเลอย่างต่อเนื่องในพื้นที่อื่นๆ ไปด้วยเพราะการฟื้นฟูไม่สามารถทำด้วยคนใดคนหนึ่ง หรือชุมชนใดชุมชนหนึ่งแต่ต้องการความร่วมมือของคนหลายฝ่ายไม่ว่าจะเป็นหน่วยราชการ สถาบันการศึกษา รวมทั้งชุมชน จึงต้องจัดเวทีแลกเปลี่ยนอยู่สม่ำเสมอ